ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy Program in Business Administration
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)
ชื่อย่อ ปร.ด. (บริหารธุรกิจ)
ชื่อเต็ม Doctor of Philosophy (Business Administration)
ชื่อย่อ Ph.D. (Business Administration)
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งสร้างสรรค์นักวิชาการ นักวิจัย นักบริหารธุรกิจ ให้มีศักยภาพระดับสูง เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทางด้านบริหารธุรกิจสู่สังคมไทยและประชาคมโลก

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.2.1 สามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาด้านบริหารธุรกิจ ด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยมีบริบททางวิชาการบริหารธุรกิจขั้นสูง หรือมีจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถใช้ดุลพินิจอย่างผู้รู้ ด้วยความยุติธรรม ด้วยหลักฐาน ด้วยหลักการที่มีเหตุผลในการจัดการกับความขัดแย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเอง และผู้อื่น สามารถแสดงพฤติกรรมของการมีภาวะผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารธุรกิจเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล

1.2.2 สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างมีความเข้าใจอันลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เป็นแก่นของสาขาบริหารธุรกิจ บนพื้นฐานที่มีความถูกต้องในด้านทฤษฎี หลักการและแนวคิดที่เป็นรากฐาน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบันและมีความเป็นสากลในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ

1.2.3 สามารถใช้ความเข้าใจลึกซึ้งในทฤษฎีและเทคนิคการแสวงหาความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญได้อย่างสร้างสรรค์ และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ สามารถสังเคราะห์ผลงานวิจัยขั้นสูงและทฤษฎีเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจใหม่ที่สร้างสรรค์ โดย บูรณาการแนวคิดต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาบริหารธุรกิจที่ศึกษาในขั้นสูง สามารถออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัยด้านบริหารธุรกิจที่สำคัญในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่

1.2.4 มีความสามารถสูงในการแสดงความเห็นทางวิชาการและวิชาบริหารธุรกิจ สามารถวางแผนวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยตนเอง รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงออกถึงความโดดเด่นในการเป็นผู้นำในทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ

1.2.5 สามารถสังเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงทางธุรกิจ โดยนำหลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติ รวมถึงทักษะในการวิจัยขั้นสูงทางด้านบริหารธุรกิจมาใช้ในการศึกษาประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน ตลอดจนสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปยังแวดวงการวิชาด้านบริหารธุรกิจ โดยการนำเสนอผลงานวิจัยหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการผ่านสิ่งตีพิมพ์ รายงานการประชุมหรือวารสารวิชาการด้านบริหารธุรกิจทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ระบบการจัดการศึกษา

1.ระบบ
การจัดการการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยในหนึ่งปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็นสองภาคการศึกษาซึ่งเป็นภาคการศึกษาบังคับ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าสิบห้าสัปดาห์ต่อหนึ่งภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่รวมเวลาสำหรับการสอบ และข้อกำหนดต่างๆเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ง)
1.1 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
มีการจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
* การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
* ไม่มี –

2. การดำเนินการหลักสูตร
* วัน-เวลาในดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม
หมายเหตุ มหาวิทยาลัยฯ อาจเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับ ใช้ระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ โดยให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคการศึกษาปกติ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรอง และเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

มีผลการสอบเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบเพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

3.3 คุณสมบัติอื่น นอกเหนือจาก 3.1 และ 3.2 ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ภาคสมทบ: เรียนเฉพาะวันเสาร์ และ อาทิตย์
ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาหลักสูตร 3 ปี และใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา