ประวัติความเป็นมา

 

2518

  • พระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ.2518 และประกาศใช้เป็นครั้งแรก โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี รุ่นแรก พ.ศ.2518
  • โดยเปิดรับนักศึกษา 4 ภาควิชา ธุรกิจศึกษาและสัมพันธ์ การตลาด การบัญชี และการจัดการ
  • มีคณบดีคนแรก ได้แก่ ศาสตราจารย์ธรรมนูญ อัคคพาณิช และหัวหน้าภาคแต่ละภาค ดังต่อไปนี้
    • ภาควิชาธุรกิจศึกษาและสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์อำนวย แสงจันทร์
    • ภาควิชาการตลาด รองศาสตราจารย์ประภาศรี อมรสิน
    • ภาควิชาการบัญชี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาคิตณ์ จันทโนทก
    • ภาควิชาการจัดการ นายพิเศษ วัฒนวิทูกูร

2519

  • เปิดทำการสอนในภาควิชาสารสนเทศขึ้นเป็นปีแรก
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรทางด้านสารสนเทศ และเทคโนโลยีทางด้านนี้ออกสู่ตลาดและสังคม
  • หัวหน้าภาควิชาคนแรก ได้แก่ นายพชร ธีราธร

2522

  • ได้รับงบประมาณให้ทำการสร้างสำนักงานอธิการบดีของวิทยาลัยขึ้นภายในพื้นที่ของวิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ เป็นอาคาร 8 ชั้น และต่อมาใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนของคณะบริหารธุรกิจเป็นครั้งแรก

2527

  • ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันฯ ได้มีนโยบายในการจัดสร้างศูนย์กลางกาเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรี ที่ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยใช้เชื่อเรียกว่า ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ศรม.
  • ส่วนคณะบริหารธุรกิจที่อาคาร 8 ชั้น ถนนวิภาวดีรังสิต ภายในวิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถยังคงจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 5 ภาควิชา ได้แก่
    • ธุรกิจศึกษาและสัมพันธ์
    • การตลาด
    • การบัญชี
    • การจัดการ
    • และระบบสารสนเทศ (ประมวลผลข้อมูล)

2533

  • คณะบริหารธุรกิจ เล็งเห็นความต้องการของบุคลากรประจำการที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการพัฒนาคุณวุฒิและนำความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน
  • จัดให้มีโครงการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ภาคสมทบ
  • จัดการเรียนการสอนในเวลา 18.00 น. – 20.30 น. เป็นครั้งแรก หรือเรียกว่า “ภาคสมทบ” ใช้เวลาในช่วงเย็นของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ในการจัดการเรียนการสอน
  • สำหรับสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คณะใช้อาคารเรียน 8 ชั้น ของคณะที่ตั้งอยู่ที่ ถ.วิภาวดีรังสิต ในพื้นที่วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถในการจัดการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนตามโครงการพัฒนาบุคลากรประจำการได้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ ฝึกฝนทักษะความสามารถทางด้านธุรกิจ และเทคโนโลยี ให้กับบุคลากรประจำการของทั้งภาครัฐและเอกชน

2535

  • มีการย้ายการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์การเรียนการสอน คณาจารย์ และการบริหารงานของคณะบริหารธุรกิจ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถมา ยังคณะบริหารธุรกิจ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลองหก เต็มรูปแบบ โดยใช้อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 จัดการเรียนการสอนในเวลาราชการ และยังคงจัดการเรียนการสอนภาคสมทบ ในเวลา 18.00-20.30 น ณ อาคาร 8 ชั้นในบริเวณวิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ

2538

  • คณะบริหารธุรกิจได้ทำการเปิดสอนนักศึกษาเพิ่มในหลักสูตร 4 ปี ที่รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และนักศึกษาที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เข้ามาเป็นนักศึกษาโดยใช้วิธีการสอบคัดเลือกผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อของสถาบันฯ
  • ภาควิชาที่รับนักศึกษาในหลักสูตร 4 ปี เพียง 3 ภาควิชา ได้แก่
    • ภาควิชาการตลาด
    • ภาควิชาการบัญชี
    • ภาควิชาระบบสารสนเทศ

2539

  • คณะได้เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีวิชาเอกการเงิน เพิ่มเติมอีก 1 สาขา

2540

  • จัดการเรียนการสอนที่คลองหกเพียงแห่งเดียว และยุติการเรียนการสอนที่วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ ถนนวิภาวดีรังสิต นอกจากนี้แล้วในปีนี้ทางคณะได้มีการเปิดรับ นักศึกษาหลักสูตร 4 ปี
  • รุ่นแรกรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. และ ม.6 เพิ่มจากเดิม ได้แก่ ภาควิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และภาควิชาการจัดการ

2541

  • คณะเปิดรับนักศึกษาผ่านการคัดเลือกของทางทบวงมหาวิทยาลัย โดยระบบเอ็นทรานซ์

2542

  • ดำเนินการจัดตั้งภาควิชาเพิ่มขึ้นอีก 2 ภาควิชา คือ ภาควิชาการเงิน และภาควิชาเศรษฐศาสตร์ โดยมีหัวหน้าภาควิชาคนแรก ได้แก่
    • ภาควิชาการเงิน รองศาสตราจารย์ วันเพ็ญ วศินารมณ์
    • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ ทูลพานิชย์กิจ
  • จัดให้มีความร่วมมือกับโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก ในการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 2 ปีต่อเนื่อง สาขาวิชาการบัญชี การตลาด การจัดการ และระบบสารสนเทศ

2545

  • ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตเป็นครั้งแรก แบ่งเป็น 2 สาขาวิชา คือ ธุรกิจระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นของบัณฑิตศึกษา
  • อาคาร 4 สำเร็จ และย้ายเข้าใช้งานได้

2546

  • ดำเนินการจัดตั้งภาควิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ แต่เดิมสังกัดอยู่กับภาคการจัดการ
  • หัวหน้าภาคคนแรก ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดาพร กุณฑลบุตร
  • ดำเนินการจัดตั้งโครงการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ (IBBA International Program) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ การตลาด ระบบสารสนเทศ และธุรกิจระหว่างประเทศ
  • รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาต่อตามหลักสูตร 4 ปี
  • Web Site ของคณะบริหารธุรกิจมีสองภาษา ได้แก่ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • มีการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศ (Memorandum of Understanding) กับมหาวิทยาลัยชั้นในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัย Auckland University of Technology (AUT) New Zealand ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมีการนำคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เข้าฟังการบรรยายทางวิชาการ ด้านการบริหารธุรกิจ จากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย Auckland University of Technology ตามหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยกำหนด เมื่อสิ้นสุดการศึกษาแล้ว
    คณาจารย์ได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากมหาวิทยาลัยฯ

2547

  • มีความร่วมมือกับ Management Center of Innsbruck : University of Innsbruck ประเทศออสเตรีย มีการจัดทำ Journal Online ขึ้นเป็นครั้งแรก และ กำเนิด RMUTT Global Business Review

2548

  • ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับปริญญาโท นับเป็นคณะแรก ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทุกแห่ง ที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทเต็มรูปแบบ นับตั้งแต่มีก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษานับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518
  • มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ขออนุญาตนำหลักสูตร ที่บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะร่างขึ้นไปใช้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารณี พิมพ์ช่างทอง เป็นผู้รับผิดชอบ โครงการ
  • มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Edith Cowen เมือง Perth ประเทศออสเตรเลีย โดยมีการลงนามความร่วมมือในด้านต่างๆ (memorandum of understanding) และต่อมามีการนำคณาจารย์เข้าสัมมนา และมีการนำนักศึกษาระดับปริญญาโท เข้าศึกษาตามหลักสูตรพิเศษที่จัดขึ้นโดยเข้าฟังการบรรยายในชั้นเรียน และมีการนำชม
    นขั้นแรก 1 คน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธชัย เลิศวรปรัช และต่อมาเพิ่มอีก 1 คน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กนกพร ชัยประสิทธิ์

2549

  • คณะเริ่มดำเนินการขออนุมัติการจัดสร้างอาคารหลังใหม่ และได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินให้จัดสร้างได้ ดำเนินการก่อสร้างระหว่างอาคารของคณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ ได้จ่ายเงินค่าออกแบบจำนวน 200,000 บาท

2551

  • ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต จากสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นับเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งหมดนับ ตั้งแต่มีการก่อตั้ง วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518
  • เริ่มการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอก เริ่มดำเนินการรับสมัครได้ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วันชัย ประเสริฐศรี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

2552

  • เดือนมีนาคม มีการรับพระราชทานปริญญา โดยในครั้งนี้คณะบริหารธุรกิจมีผู้สำเร็จปริญญาโทเข้ารับปริญญามหาบัณฑิต นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่มีมหาบัณฑิตเข้ารับพระราชทานปริญญามหาบัณฑิต
  • วันที่ 13 พฤษภาคม มีการประชุมคณะกรรมการคณะครั้งที่ 1 นับเป็นการประชุมครั้งแรก ตั้งแต่มีการก่อตั้งคณะบริหารธุรกิจคณะกรรมการคณะชุดแรก ได้แก่
    • รองศาสตราจารย์ ดร. ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร
    • นายสถาพร โคธีรานุรักษ์
    • นายปฐม อินทโรดม
    • นายสามารถ ดีพิจารณ์
    • รองศาสตราจารย์ ฐาปนีย์ สุทธิสนั่น
    • นางสาว สายจิต วัชรสินธุ
    • รองศาสตราจารย์ สุวิมล แม้นจริง
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิมพา หิรัญกิตติ
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุสุมา ดำพิทักษ์
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ญาศิณี อัศเวศน์
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาพร ทินประภา
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารณี พิมพ์ช่างทอง
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นุชจรี พิเชฐกุล
    • รองศาสตราจารย์ สุดาพร กุณฑลบุตร
  • เดือนกันยายน นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นแรกของคณะบริหารธุรกิจ เดินทางไปศึกษาระยะสั้นที่ De Montfort University ประเทศอังกฤษ
  • ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์รายแรกของคณะบริหารธุรกิจ ชื่อคุณชาลอต โทณวนิก รับพระราชทานวันที่ 15 ธันวาคม 2552

2553

  • วารสาร RMUTT Global Business and Economic ถูกบรรจุอยู่ใน TCI (Thai Journal Citation Index)
  • รองศาสตราจารย์ เนตรพัณณา ยาวิราช เป็นบรรณาธิการคนแรก